วันอังคารที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2552
คุณ นพดล ภู่พานิชเจริญกุล
แยกตามประเภทวิสาหกิจ
1. การเงิน-การธนาคาร
คุณ นพดล ภู่พานิชเจริญกุล
วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2552
นายณรงค์ ตนานุวัฒน์ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ สมัยที่ 14 - 15 พ.ศ. 2548 - 2551

Mr. Narong Tananuwat
ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่
สมัยที่ 15 - 16 พ.ศ. 2548 - 2551
President, The Chiang Mai Chamber of Commerce 2005 - 2008
นายจุมพล ชุติมา ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ สมัยที่ 14 ประจำปี พ.ศ. 2546 - 2547

Mr. Jumpol Chutima
ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่
สมัยที่ 14 ประจำปี พ.ศ. 2546 - 2547
President, The Chiang Mai Chamber of Commerce 2003 - 2004
.
การบริหารหอการค้าสมัยนี้ นอกจากจะสานต่อนโยบายเดิมของหอการค้าในสมัยที่ผ่านมาแล้ว จะมุ่งเน้นการดำเนินงานที่เป็นพันธกิจหลัก คือ การสร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กรภายในหอการค้า ให้สามารถมีงบประมาณที่แน่นอนแก่องค์กร เพื่อเป็นที่พึ่งแก่สมาชิก และ สังคมได้อย่างยั่งยืน.
.
นอกจากนั้น จะมุ่งเน้นการร่วมมือสนับสนุนพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ ให้มีความพร้อม มีเอกลักษณ์จุดขายที่ชัดเจน และ รองรับการเป็นศูนย์กลางการบิน (Aviation Hub) ของภูมิภาคนี้อย่างครบวงจร และ กระจายผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นไปทุกจังหวัดของภาคเหนือ รวมถึงการสร้างพันธมิตรและเครือข่าย ตลอดจนให้ความร่วมมือกับองค์กรพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในทุกระดับโดยมีกิจกรรมที่สำคัญ ดังนี้
.
กิจกรรมเพื่อสมาชิก
.
เน้นสร้างความเข้มแข็ง และ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่สมาชิก ให้สอดรับกับระบบเศรษฐกิจ ผลกระทบจากการเปิดเสรีทางกาค้าทั้งระดับประเทศ และ ต่างประเทศ ได้แก่ การริเริ่มโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมในภาวะที่ประเทศกำลังประสบกับปัญหาโรคทางเดินหายใจเฉียบพลัน (SARS) โดยการนำร่องด้วยโครงการ "ชาวดอย ชมเล...เยือนภูเก็ต" และ ได้มีการลงนามเป็นหอการค้ามิตรภาพระหว่างหอการค้าจังหวัดภูเก็ต โดยมีกรอบความร่วมมือ คือ
.
1.) ร่วมกันสนับสนุนความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจการท่องเที่ยวที่เกี่ยวโยงของ 2 จังหวัด
2.) สนับสนุนให้มีช่องทางการค้าระหว่าง 2 จังหวัด
3.) สนับสนุนให้การจัด Package Tour ระหว่าง 2 จังหวัด เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวร่วมกัน
4.) ผลักดันให้มีการเชื่อมโยงทางสายการบินตรงระหว่างจังหวัดภูเก็ต...เชียงใหม่ รวมถึงในเส้นทางอื่น ที่มีศักยภาพ เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวระหว่างจังหวัดภายในประเทศมากขึ้น
.
กิจกรรมเพื่อเศรษฐกิจโดยรวม
.
มีกิจกรรมที่สำคัญได้แก่ การผลักดันให้เชียงใหม่เป็นศูนย์กลางการบิน - ขนส่งทางอากาศในภูมิภาค (Aviation Hub) อย่างต่อเนื่อง, การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ในจังหวัดเชียงใหม่, การดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ เช่น สนับสนุนโครงการเชียงใหม่ซาฟารีไนท์ (Chiang Mai Safari Night) และ ติดตามการก่อสร้างศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ ที่จังหวัดเชียงใหม่, การส่งเสริมให้จังหวัดเชียงใหม่เป็นนครสารสนเทศ หรือ ICT CITY โดยผลักดันการก่อตั้งสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์กรมหาชน) สาขาเชียงใหม่, ได้มีส่วนร่วมในคณะทำงานศึกษารายละเอียดความเหมาะสมร่างประกาศหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับ อาคาร ค้าปลีก - ค้าส่ง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อศึกษาผลกระทบและแก้ไขร่างประกาศฯ โดยได้ผลักดันในนามคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน (กกร.) จังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากส่งผลกระทบต่อการพัฒนาให้เชียงใหม่เป็นเมืองน่าอยู่ และ เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเป็นต้น
.
กิจกรรมด้านต่างประเทศ และ สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ
.
ในสมัยนี้มีกิจกรรมที่สำคัญ ได้แก่
1.) การลงนามความร่วมมือระหว่างหอการค้า และ อุตสาหกรรมจิตตะกอง สาธารรัฐบังคลาเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม และ สนับสนุนให้เกิด การค้า การลงทุน และ ความร่วมมืออื่นๆ ระหว่างภาคเอกชนของทั้งสองฝ่ายต่อไปในอนาคต เมื่อวันที่ 18 กรกฏาคม 2546 ณ หอการค้าและอุตสาหกรรมจิตตะกองสาธารณะรัฐบังคลาเทศ
2.) การสนับสนุน และ ผลักดันโครงการความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน (สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ) ให้เป็นรูปธรรม ซึ่งที่ผ่านมา ได้จัดงานแสดงสินค้า 4 ชาติ ครั้งที่ 2 ขึ้นระหว่างวันที่ 5 -14 ธันวาคม 2546 ณ สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี และ ได้จัดสัมมนาติดตามความคืบหน้าโครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจประจำปี 2546 เมื่อวันที่ 7 - 8 ธันวาคม 2546
.
3.) ร่วมงานแสดงสินค้า การประชุมและดูงานในต่างประเทศ ตลอดจนเป็นผู้จัดการโครงการนำคณะนักธุรกิจทัศนศึกษา และ สานต่อความร่วมมือทางการค้า การลงทุนในต่างประเทศที่สำคัญ เช่น โครงการสำรวจลู่ทางการการค้า การลงทุน และ การท่องเที่ยว ณ เมืองจิตตะกอง สาธารณรัฐบังคลาเทศ, โครงการทัศนศึกษาเยือนนครหลวงโบราณแห่งอาณาจักรล้านช้าง เมืองหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และ โครงการทัศนศึกษาเยือนเวียตนาม สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียตนาม เพื่อกาสานต่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างจังหวัดเชียงใหม่กับประเทศเพื่อนบ้าน เป็นต้น
.
.
Resource
:หนังสือสถาปนา คณะกรรมการหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ สมัยที่ 16 ประจำปี 2550 - 2551
.
โดย Sun of New CIty
นายราชันย์ วีระพันธุ์ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ สมัยที่ 12 - 13 ประจำปี พ.ศ. 2542 - 2545

Mr. Rachan Veeraphan
ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่
สมัยที่ 12 - 13 ประจำปี พ.ศ. 2542 - 2545
President , The Chiang Mai Chamber of Commerce 1999 - 2002
.
.
การบริหารหอการค้าในสมัยนี้ มีนายราชันย์ วีระพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เชียงใหม่อินทนนท์ทราเวิล แอนด์ เทรด เป็นประธานฯ ดำเนินงานภายใต้นโยบาย "ส่งเสริมจริธรรมทางการค้า มุ่งพัฒนาการตลาด สร้างโอกาสทางธุรกิจ เพิ่มพันธมิตรทุกภูมิภาค" ได้ดำเนินงานใน 3 ระดับดังนี้.
.
.
ผลงานและกิจกรรมเพื่อสมาชิก
.
ได้เน้นให้ความช่วยเหลือสมาชิก ให้สามารถฟื้นฟูกิจการภายหลังภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ รวมทั้งพัฒนาศักยภาพให้สามารถทำการตลาด เพื่อให้แข่งขันได้ ทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ ได้แก่
.
1.) จัดประชุมกลุ่มสมาชิกรายสาขา เพื่อรับฟังปัญหาอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจของสมาชิก
2.) จัดอบรม - สัมมนาทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง
3.) ออกหนังสือพิมพ์เชียงใหม่รีวิว เพื่อเพิ่มช่องทางการสื่อสารข้อมูลเศรษฐกิจให้แก่สมาชิก
4.) จัดทำโครงการบัตรทองให้เป็นบัตรประจำตัวแก่สมาชิก เพื่อรับส่วนลดในการซื้อสินค้าและบริการ ซึ่งจะนำไปสู่การกระตุ้นเศรษฐกิจภายในจังหวัด เป็นต้น
.
.
ผลงาน และ กิจกรรมเพื่อเศรษฐกิจโดยส่วนรวม
.
เป็นศูนย์กลางปรับปรุงโครงสร้างหนี้ จัดสัมมนาติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจเป็นระยะๆ ผลักดันนโยบายสาธารณะ ได้แก่
.
1.) ผลักดัน และ ติดตามโครงการก่อสร้างศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติจังหวัดเชียงใหม่ หลังจากที่ผลการศึกษาของบริษัทที่ปรึกษาซึ่งว่าจ้างโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สรุปว่า จังหวัดเชียงใหม่ยังไม่มีศักยภาพในการสร้าง
.
2.) เสนอให้ทบทวนหลักการจัดเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
.
3.) จัดเก็บภาษี และ การเครดิตภาษีคืนท้องถิ่นให้เป็นธรรม
.
4.) ขอผ่อนผันการจ่ายเพิ่มเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ปี 2544
.
5.) เสนอให้มีการจัดทำแผนแม่บท ชี้นำการพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ ระยะยาว 20 ปี เป็นต้น
.
.
กิจกรรมและผลงานด้านต่างประเทศ
.
สานต่อโครงการความร่วมมือกับหอการค้าและอุตสาหกรรมขนาดเล็กเมืองฮัมบูร์ก โดยได้นำเสนอโครงการ และ ได้รับการสนับสนุน การปรับปรุงห้องประชุมสัมมนา และ ห้องจัดกิจกรรมของหอการค้า ขนาด 112 ตารางเมตร และ สนับสนุนการจัดงาน แสดงสินค้า Thai Art ณ หอการค้าฯ ฮัมบูร์ก โดยการรวบรวมสินค้าของสมาชิกไปแสดงและจำหน่าย ซึ่งเป็นการประชาสัมพันธ์ และ เปิดตลาดสินค้าหัตถกรรมสู่กลุ่มประเทศยุโรปเหนือเป็นต้น
.
การผลักดันโครงการสี่เหลี่ยนเศรษฐกิจให้เป็นรูปธรรม เพื่อให้เป็นโอกาสทางเศรษฐกิจของจังหวัดภาคเหนือตอนบน โดยได้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อโครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ หรือ คสศ. หอการค้า 10 จังหวัดภาคเหนือ และ ได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธาน คสศ.สมัยแรก .
.
ต่อมาได้ประสานงานกับหอการค้ายูนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน, สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และ สหภาพพม่า ร่วมจัดตั้งคณะกรรมการร่วมหอการค้าในเขตสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ หรือ JEQC ในปี 2543 ณ นครคุนหมิง ซึ่งขณะนี้ คณะกรรมการทั้ง 2 คณะดังกล่าว ยังคงดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อร่วมพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนในด้านต่างๆร่วมกัน
.
.
การบริหารหอการค้า สมัยที่ 13 พ.ศ. 2544 - 2545
.
เป็นการบริหารงานสมัยที่ 2 ของนายราชันย์ วีระพันธุ์ ซึ่งมีการกำหนดวิสัยทัศน์ว่า "ร่วมสร้างเชียงใหม่ให้น่าอยู่ เร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจให้ยั่งยืน" ยังคงเน้นกิจกรรมที่จะเป็นการช่วยเหลือสมาชิก ด้วยการสะท้อนปัญหาและความต้องการให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพ่อหาแนวทางการแก้ไข และ ให้การสนับสนุน สร้างแนวทางในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ตลอดจนจะให้ความร่วมมือกับองค์กรพันธมิตร และ เครือข่ายองค์กรพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในทุกระดับ เพื่อร่วมสร้างสรรค์พัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ คงความมีเอกลักษณ์ที่เป็นเสน่ห์ของเมือง มีการพัฒนาในทุกด้านที่สอดคล้องกลมกลืนและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ดังนี้
.
ดำเนินงานเพื่อสมาชิก
.
ดำเนินกิจกรรมต่อเนื่องจากสมัยที่ 12 ได้แก่ การจัดประชุมกลุ่มสมาชิกรายสาขา, การประชุมติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจ ตลอดจนจัดการประชุมคณะกรรมการสัญจรต่างอำเภอ รับฟังปัญหาอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจของสมาชิก เพื่อหาแนวทางให้ความช่วยเหลือต่อไป
.
การดำเนินงานเพื่อเศรษฐกิจโดยส่วนรวม
.
ได้มีการผลักดันประเด็นปัญหา และ โครงการที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และ การท่องเที่ยวโดยรวมของจังหวัด ได้แก่
.
1.) แสดงความไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขปัญหาจราจรของกรมทางหลวง ที่สร้างสะพานยกระดับบริเวณแยกสนามบิน แทนการสร้างแบบลดระดับ หรือ Under Pass
.
2.) เสนอให้มีการพิจารณาควบคุมการสร้างตึกสูงในเขตเมืองเชียงใหม่ เพื่อเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และ รักษาทัศนียภาพของเมือง
.
3.) ติตตามผลักดันการก่อสร้างศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ อย่างใกล้ชิด จนกระทั่งมีความคืนหน้าและชัดเจนมาขึ้นในปัจจุบัน
.
4.) เสนอให้บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ทบทวนการปรับขึ้นค่าโดยสาร - ค่าขนส่ง ภายในประเทศเป็นต้น
.
กิจกรรมและผลงานด้านต่างประเทศ
.
สานต่อโครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ ได้จัดงานแสดงสินค้า 4 ชาติ ซึ่งประกอบด้วย ไทย จีน ลาว พม่า เมื่อวันที่ 28 กันยายน - 6 ตุลาคม 2545 ณ สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี ทั้งนี้มีผู้ชมตลอดงาน กว่า 600,000 คน มีร้านค้าทั้งสิ้น 750 คูหา มีการแสดงวัฒนธรรมจาก 4 ชาติ เป็นประจำทุกคืน นับว่าเป็นงานที่ยิ่งใหญ่ระดับนานาชาติครั้งแรกที่จัดขึ้นในภาคเหนือ ที่ได้รับความร่วมมือจากภาครัฐ - เอกชนอย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนได้สร้างชื่อเสียงและความภาคภูมิใจให้คณะกรรมการสมัยนี้เป็นอย่างยิ่ง
.
ดำเนินกิจกรรมภายใต้คณะกรรมการเพื่อโครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ หอการค้า 10 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่
.
1.) การจัดสัมมนาติดตามความก้าวหน้าโครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจประจำปี
.
2.) จัดทัศนศึกษาล่องเรือในแม่น้ำโขงจากอำเภอเชียงแสน ถึง เมืองเชียงรุ่ง แคว้นสิบสองปันนา เพื่อสำรวจเส้นทางเดินเรือพาณิชย์ในแม่น้ำโขง
.
3.) นำสมาชิกไปร่วมงานแสดง และ จำหน่ายสินค้าที่แคว้นสิบสองปันนา
.
4.) จัดประชุมสัญจรเพื่อส่งเสริมการค้าชายแดนในจังหวัดที่มีศักยภาพ ได้แก่ จังหวัดเชียงราย,พะเยา, น่าน และ อุตรดิดถ์ เป็นต้น
.
5.) ผลักดันให้มีการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมทางบกภายในประเทศ เพื่อเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งยังได้นำเสนอและผลักดัน ให้จังหวัดเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ล่าสุดรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนแล้ว
.
ดำเนินงานภายใต้คณะกรรมการร่วมหอการค้า 4 ประเทศในเขตสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ หรือ JEQC โดยในปีบริหาร 2546 -2547 นายราชันย์ วีระพันธุ์ ได้รับความไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่งประธาน JEQC ซึ่งจะได้ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมโครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจให้เป็นรูปธรรมต่อไป
.
.
Resource
: หนังสือสถาปนา คณะกรรมการหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ สมัยที่ 16 ประจำปี 2550 - 2551
.
โดย Sun of New City
วันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2552
นาย ดนัย เลียวสวัสดิพงศ์ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ สมัยที่ 10 - 11 ประจำปี พ.ศ. 2538 - 2541
นาย ดนัย เลียวสวัสดิพงศ์
Mr. Danai Leosawathiphong
ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่
สมัยที่ 10 - 11 ประจำปี พ.ศ. 2538 - 2541
President, The Chiang Mai Chamber of Commerce 1995 - 1998
.
.
การบริหารงานสมัยนี้ มีนายดนัย เลียวสวัสดิพงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามรอยัลออคิด จำกัด เป็นประธานฯ ดำเนินงานภายใต้นโยบาย "พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่รับผิดชอบต่อเศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อม เพื่อรองรับกระแสโลกาภิวัฒน์" ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงแลกเปลี่ยนความร่วมมือ กับ หอการค้าและ อุตสาหกรรมขนาดเล็กเมืองฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมันนี เพื่อรับถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการประหยัดพลังงานและสิ่งแวดล้อม
.
ในปี 2541 - 2541 ประเทศไทยประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ หอการค้าฯ ก็ได้มีบทบาทให้ความช่วยเหลือและแก้ปัญหาการดำเนินธุรกิจของสมาชิก โดยได้ออกแบบสอบถามเพื่อติดตามสถานการณ์ และ ผลกระทบต่างๆอย่างต่อเนื่อง รวมถึงได้จัดเสวนากับสมาชิกสมาคมการค้า และ หน่วยงานภาคราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันหามาตรการแก้ไขปัญหาอย่างสม่ำเสมอ
.
นอกจากนี้ยังได้นำเสนอและผลักดัน ขอให้มีการสร้างศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติที่จังหวัดเชียงใหม่ จนโครงการดังกล่าวนี้ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ในการประชุม ครม.สัญจร ที่จังหวัดเชียงรายในเวลาต่อมา
.
และ เสนอให้รัฐบาล คืน ภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าของที่ระลึกแก่นักท่องเที่ยว เป็นต้น
.
.
Resource
: หนังสือสถาปนา คณะกรรมการหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ สมัยที่ 16 ประจำปี 2550 - 2551
.
โดย Sun of New City
ดร. แจ่มจิตต์ เลาหวัฒน์ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ สมัยที่ 8 - 9 ประจำปี พ.ศ. 2535 - 2537
