วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2552

นายณรงค์ ตนานุวัฒน์ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ สมัยที่ 14 - 15 พ.ศ. 2548 - 2551




นายณรงค์ ตนานุวัฒน์
Mr. Narong Tananuwat

ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่
สมัยที่ 15 - 16 พ.ศ. 2548 - 2551

President, The Chiang Mai Chamber of Commerce 2005 - 2008

.

.

สมัยที่ 15 พ.ศ. 2548 - 2549
.
การบริหารงานสมัยนี้ มี นายณรงค์ ตนานุวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตนานุวัฒน์ จำกัด เป็นประธานกรรมการฯ ได้บริหารงานภายใต้นโยบาย "ส่งเสริมการค้า พัฒนาเศรษฐกิจ มุ่งเน้นสมาชิก ร่วมมือพันธมิตร ประสานแนวคิด เชียงใหม่นครแห่งชีวิต และ ความมั่งคั่ง" โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของสมาชิก ในการสร้างกระบวนการเตรียมความพร้อม และ การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจ ทั้งภายในและระหว่างประเทศ สนับสนุน ยุทธศาสตร์ที่จะให้เชียงใหม่เป็นศูนย์กลางทางด้านเศรษฐกิจของภาคเหนือ และ กระจายความเจริญเชื่อมโยงไปสู่ภาคเหนือต่อไป
.
กิจกรรมเพื่อสมาชิก
.
ในสมัยที่ 13 ได้ริเริ่มโครงการที่สำคัญสำหรับสมาชิก 2 โครงการได้แก่
.
1.) "หอการค้าสนทนากาแฟ" - การเสวนาโต๊ะกลมทางเศรษฐกิจ "รวมพลคนสนใจในเศรษฐกิจ" เพื่อเปิดโอกาสให้มีการพบปะ สนทนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างสมาชิก และ คณะกรรมการหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ ในประเด็นต่างๆ ทั้งในด้านการบริหาร จัดการ ตลาด การค้า และ ประเด็นที่อยู่ในความสนใจต่างๆทุกวันอังคารที่ 2 ของเดือน โดยที่ผ่านมาได้จัดประเด็นที่น่าสนใจได้แก่
.
"พลิกกลยุทธ์รับมือเศรษฐกิจครึ่งปีหลังอย่างไร"
"การแก้ไขปัญหาลำไยอย่างยั่งยืน"
"ปัญหาและอุปสรรคการส่งออกสินค้รหัตถกรรม จังหวัดเชียงใหม่" โดยเฉพาะการส่งออก "ศิลปวัตถุ หรือ สินค้าเลียนแบบศิลปวัตถุ" และ ประเด็น
"แลหน้าการท่องเที่ยว จังหวัดเชียงใหม่"
.
2.) โครงการ "หอการค้าสัญจรต่างอำเภา" เพื่อรับทราบปัญหา และ ความต้องการของธุรกิจ อันจักเป็นประโยชน์ในการสนับสนุน และ ส่งเสริมภาคเศรษฐกิจให้เจริญเติบโตได้อย่างยั่งยืนต่อไป โดยนำร่องด้วยการสัญจรอำเภอพร้าว
.
กิจกรรมเพื่อเศรษฐกิจโดยรวม
.
ในส่วนการแก้ไขปัญหาในระดับท้องถิ่น ได้แก่
.
1.) เปิดเวทีหารือประเด็น "ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ" เนื่องจากพิจารณาเห็นว่าวิกฤตจราจรในเขตเมืองเชียงใหม่ ถือเป็นประเด็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ซึ่งการนำใช้รถเมล์มาให้บริการถือเป็นการเพิ่มทางเลือกให้แก่ประชาชนในการเลือกใช้ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ ซึ่งเป็นผลให้เทศบาลตัดสินใจเดินรถเมล์เชียงใหม่ในปัจจุบัน.
.
2.) จัดเสวนา "หามาตรการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ" โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมเสวนาสะท้อนมุมมอง ปัญหา ตลอดจนแนวทางการแก้ไขปัญหาในแต่ละภาคส่วน เพื่อนำไปสู่การกำหนดมาตรการที่ชัดเจน และตรงกับข้อเท็จจริง นำเสนอต่อภาครัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
.
3.) ให้ความช่วยเหลือสถานการณ์น้ำท่วมในเขตเศรษฐกิจที่สำคัญของเชียงใหม่ เช่น บริเวณไนท์บาร์ซ่า และ ถนนช้างคลานที่ถูกน้ำท่วมเสียหายอย่างหนัก
.
4.) เร่งรัดโครงการสาธารณูปโภค - สาธารณูปการในการพัฒนาจังหวัดที่ยังคงค้างอยู่ เช่น โครงการก่อสร้างศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติจังหวัดเชียงใหม่, โครงการแก้ไขปัญหาขยะอย่างยั่งยืนด้วยการก่อสร้างเตาเผาขยะแบบไร้มลภาวะ และ การผลักดันให้เกิดโครงการรถไฟความเร็วปานกลาง เชียงใหม่ - กรุงเทพฯ เป็นต้น
.
นอกจากนั้น หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ ในสมยที่ 15 ยังเข้าไปมีส่วนร่วมในโครงการราชพฤกษ์ 2006 โดยรับผิดชอบในการบริหารร้านขายสินค้าที่ระลึกที่ได้รับลิขสิทธิ์ภายในบริเวณงาน , การร่วมออกแบบบู้ธแสดงสินค้ามาตรฐาน, การมีส่วนร่วมในเรื่องของการประชาสัมพันธ์ ประสานงานในเรื่องคมนาคม และ ที่พักอีกด้วย
.
กิจกรรมและผลงานด้านต่างประเทศ
.
ในส่วนการสร้างความสัมพันธ์กับต่างประเทศ ในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา หอการค้าฯ ได้จัดกิจกรรมดังนี้
.
1.) จัด Trade Mission ไปยังประเทศจีน ได้แก่ China - Asian Expo หนานหนิง สป.จีน นำผู้ประกอบการเหมาลำไปเยือนหนานหนิง และ มีการลงนาม MOU ความร่วมมือทางด้านการค้า และ ส่งเสริมการท่องเที่ยวระหว่างหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ และ หอการค้า และ อุตสาหกรรมเขตปกครองพิเศษกว่างซี สาธารณประชาชนจีน นอกจากนั้นยังได้เปิดตลาดใหม่ของจีนในนครคุนหมิง มณฑลยูนนาน, นครเฉินตู, มณฑลเสฉวน, และ มหานครฉงซิ่ง สป.จีน กระทั่งล่าสุด ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงาน จีน - ไทย ภาคเหนือ 8 จังหวัด ที่นครคุนหมิง ปส.จีน เพื่อเปิดลาดสินค้าของไทยสู่มณฑลจีน.
.
2.) ร่วมงาน GMS SUMMIT 2005 และ งาน KUNNING FAIR 2005 ซึ่งได้ทราบความคืบหน้าของการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ การค้าในหลายด้านของจีน เช่น การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ ปัญหาอุปสรรคทางการค้า และ แนวทางการนำสินค้าของภาคเหนือไปเปิดตลาด ซึ่งจักเป็นประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการต่อไป
.
3.) ได้ผลักดันการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ ผ่านการเชื่อมสัมพันธ์กับหอการค้า กระทั่งนำมาสู่การลงนาม MOU หอการค้าคู่มิตรระหว่างหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ กับหอการค้าและอุตสาหกรรมลียง ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2549 โดยมี ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีแห่งประเทศไทย และ ประธานาธิบดี ประเทศฝรั่งเศสเป็นสักขีพยาน ซึ่งความสำเร็จดังกล่าวจะเป็นการขยายโอกาสด้านความร่วมมือทางการค้า และ การลงทุนให้กับจังหวัดเชียงใหม่ และ กลุ่มล้านนา 8 จังหวัด ตลอดจนเป็นช่องทางการเปิดตลาดให้สินค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้า OTOP เข้าสู่เมืองลียง และ ประเทศฝรั่งเศส และ เป็นการส่งเสริมให้ธุรกิจ SMEs มีโอกาสได้เรียนรู้ และ พัฒนาสินค้าของตนเองให้มีคุณภาพเป็นมาตรฐานสากลต่อไป
.
จะเห็นได้ว่า ตลอดระยะเวลา 30 ปี ที่ผ่านมา หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ ได้ดำเนินนโยบายและกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ต่อ สมาชิก และ ต่อระบบเศรษฐกิจโดยส่วนรวมมาอย่างต่อเนื่อง มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในสังคมจังหวัดเชียงใหม่ และ ในระดับประเทศ ทั้งนี้ ก็ด้วยการทุ่มเทการดำเนินงานจากคณะกรรมการทุกยุคทุกสมัยที่ผ่านมา ตลอดจนได้บความร่วมมือและการสนับสนุนจาก สมาชิก หน่วยงานราชการ องค์กรภาคเอกชนพันธมิตร และ สื่อมวลชนทุกแขนง ซึ่งหอการค้าฯ ต้องขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้.
.
.
Resource
:หนังสือสถาปนา คณะกรรมการหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ สมัยที่ 16 ประจำปี 2550 - 2551
.
โดย Sun of New City
"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น