วันอังคารที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2552

คุณ นพดล ภู่พานิชเจริญกุล

สมาชิกหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่
แยกตามประเภทวิสาหกิจ
1. การเงิน-การธนาคาร

คุณ นพดล ภู่พานิชเจริญกุล

นาย ณรงค์ คองประเสริฐ

วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2552

นายณรงค์ ตนานุวัฒน์ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ สมัยที่ 14 - 15 พ.ศ. 2548 - 2551




นายณรงค์ ตนานุวัฒน์
Mr. Narong Tananuwat

ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่
สมัยที่ 15 - 16 พ.ศ. 2548 - 2551

President, The Chiang Mai Chamber of Commerce 2005 - 2008

.

.

สมัยที่ 15 พ.ศ. 2548 - 2549
.
การบริหารงานสมัยนี้ มี นายณรงค์ ตนานุวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตนานุวัฒน์ จำกัด เป็นประธานกรรมการฯ ได้บริหารงานภายใต้นโยบาย "ส่งเสริมการค้า พัฒนาเศรษฐกิจ มุ่งเน้นสมาชิก ร่วมมือพันธมิตร ประสานแนวคิด เชียงใหม่นครแห่งชีวิต และ ความมั่งคั่ง" โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของสมาชิก ในการสร้างกระบวนการเตรียมความพร้อม และ การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจ ทั้งภายในและระหว่างประเทศ สนับสนุน ยุทธศาสตร์ที่จะให้เชียงใหม่เป็นศูนย์กลางทางด้านเศรษฐกิจของภาคเหนือ และ กระจายความเจริญเชื่อมโยงไปสู่ภาคเหนือต่อไป
.
กิจกรรมเพื่อสมาชิก
.
ในสมัยที่ 13 ได้ริเริ่มโครงการที่สำคัญสำหรับสมาชิก 2 โครงการได้แก่
.
1.) "หอการค้าสนทนากาแฟ" - การเสวนาโต๊ะกลมทางเศรษฐกิจ "รวมพลคนสนใจในเศรษฐกิจ" เพื่อเปิดโอกาสให้มีการพบปะ สนทนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างสมาชิก และ คณะกรรมการหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ ในประเด็นต่างๆ ทั้งในด้านการบริหาร จัดการ ตลาด การค้า และ ประเด็นที่อยู่ในความสนใจต่างๆทุกวันอังคารที่ 2 ของเดือน โดยที่ผ่านมาได้จัดประเด็นที่น่าสนใจได้แก่
.
"พลิกกลยุทธ์รับมือเศรษฐกิจครึ่งปีหลังอย่างไร"
"การแก้ไขปัญหาลำไยอย่างยั่งยืน"
"ปัญหาและอุปสรรคการส่งออกสินค้รหัตถกรรม จังหวัดเชียงใหม่" โดยเฉพาะการส่งออก "ศิลปวัตถุ หรือ สินค้าเลียนแบบศิลปวัตถุ" และ ประเด็น
"แลหน้าการท่องเที่ยว จังหวัดเชียงใหม่"
.
2.) โครงการ "หอการค้าสัญจรต่างอำเภา" เพื่อรับทราบปัญหา และ ความต้องการของธุรกิจ อันจักเป็นประโยชน์ในการสนับสนุน และ ส่งเสริมภาคเศรษฐกิจให้เจริญเติบโตได้อย่างยั่งยืนต่อไป โดยนำร่องด้วยการสัญจรอำเภอพร้าว
.
กิจกรรมเพื่อเศรษฐกิจโดยรวม
.
ในส่วนการแก้ไขปัญหาในระดับท้องถิ่น ได้แก่
.
1.) เปิดเวทีหารือประเด็น "ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ" เนื่องจากพิจารณาเห็นว่าวิกฤตจราจรในเขตเมืองเชียงใหม่ ถือเป็นประเด็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ซึ่งการนำใช้รถเมล์มาให้บริการถือเป็นการเพิ่มทางเลือกให้แก่ประชาชนในการเลือกใช้ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ ซึ่งเป็นผลให้เทศบาลตัดสินใจเดินรถเมล์เชียงใหม่ในปัจจุบัน.
.
2.) จัดเสวนา "หามาตรการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ" โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมเสวนาสะท้อนมุมมอง ปัญหา ตลอดจนแนวทางการแก้ไขปัญหาในแต่ละภาคส่วน เพื่อนำไปสู่การกำหนดมาตรการที่ชัดเจน และตรงกับข้อเท็จจริง นำเสนอต่อภาครัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
.
3.) ให้ความช่วยเหลือสถานการณ์น้ำท่วมในเขตเศรษฐกิจที่สำคัญของเชียงใหม่ เช่น บริเวณไนท์บาร์ซ่า และ ถนนช้างคลานที่ถูกน้ำท่วมเสียหายอย่างหนัก
.
4.) เร่งรัดโครงการสาธารณูปโภค - สาธารณูปการในการพัฒนาจังหวัดที่ยังคงค้างอยู่ เช่น โครงการก่อสร้างศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติจังหวัดเชียงใหม่, โครงการแก้ไขปัญหาขยะอย่างยั่งยืนด้วยการก่อสร้างเตาเผาขยะแบบไร้มลภาวะ และ การผลักดันให้เกิดโครงการรถไฟความเร็วปานกลาง เชียงใหม่ - กรุงเทพฯ เป็นต้น
.
นอกจากนั้น หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ ในสมยที่ 15 ยังเข้าไปมีส่วนร่วมในโครงการราชพฤกษ์ 2006 โดยรับผิดชอบในการบริหารร้านขายสินค้าที่ระลึกที่ได้รับลิขสิทธิ์ภายในบริเวณงาน , การร่วมออกแบบบู้ธแสดงสินค้ามาตรฐาน, การมีส่วนร่วมในเรื่องของการประชาสัมพันธ์ ประสานงานในเรื่องคมนาคม และ ที่พักอีกด้วย
.
กิจกรรมและผลงานด้านต่างประเทศ
.
ในส่วนการสร้างความสัมพันธ์กับต่างประเทศ ในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา หอการค้าฯ ได้จัดกิจกรรมดังนี้
.
1.) จัด Trade Mission ไปยังประเทศจีน ได้แก่ China - Asian Expo หนานหนิง สป.จีน นำผู้ประกอบการเหมาลำไปเยือนหนานหนิง และ มีการลงนาม MOU ความร่วมมือทางด้านการค้า และ ส่งเสริมการท่องเที่ยวระหว่างหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ และ หอการค้า และ อุตสาหกรรมเขตปกครองพิเศษกว่างซี สาธารณประชาชนจีน นอกจากนั้นยังได้เปิดตลาดใหม่ของจีนในนครคุนหมิง มณฑลยูนนาน, นครเฉินตู, มณฑลเสฉวน, และ มหานครฉงซิ่ง สป.จีน กระทั่งล่าสุด ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงาน จีน - ไทย ภาคเหนือ 8 จังหวัด ที่นครคุนหมิง ปส.จีน เพื่อเปิดลาดสินค้าของไทยสู่มณฑลจีน.
.
2.) ร่วมงาน GMS SUMMIT 2005 และ งาน KUNNING FAIR 2005 ซึ่งได้ทราบความคืบหน้าของการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ การค้าในหลายด้านของจีน เช่น การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ ปัญหาอุปสรรคทางการค้า และ แนวทางการนำสินค้าของภาคเหนือไปเปิดตลาด ซึ่งจักเป็นประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการต่อไป
.
3.) ได้ผลักดันการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ ผ่านการเชื่อมสัมพันธ์กับหอการค้า กระทั่งนำมาสู่การลงนาม MOU หอการค้าคู่มิตรระหว่างหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ กับหอการค้าและอุตสาหกรรมลียง ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2549 โดยมี ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีแห่งประเทศไทย และ ประธานาธิบดี ประเทศฝรั่งเศสเป็นสักขีพยาน ซึ่งความสำเร็จดังกล่าวจะเป็นการขยายโอกาสด้านความร่วมมือทางการค้า และ การลงทุนให้กับจังหวัดเชียงใหม่ และ กลุ่มล้านนา 8 จังหวัด ตลอดจนเป็นช่องทางการเปิดตลาดให้สินค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้า OTOP เข้าสู่เมืองลียง และ ประเทศฝรั่งเศส และ เป็นการส่งเสริมให้ธุรกิจ SMEs มีโอกาสได้เรียนรู้ และ พัฒนาสินค้าของตนเองให้มีคุณภาพเป็นมาตรฐานสากลต่อไป
.
จะเห็นได้ว่า ตลอดระยะเวลา 30 ปี ที่ผ่านมา หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ ได้ดำเนินนโยบายและกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ต่อ สมาชิก และ ต่อระบบเศรษฐกิจโดยส่วนรวมมาอย่างต่อเนื่อง มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในสังคมจังหวัดเชียงใหม่ และ ในระดับประเทศ ทั้งนี้ ก็ด้วยการทุ่มเทการดำเนินงานจากคณะกรรมการทุกยุคทุกสมัยที่ผ่านมา ตลอดจนได้บความร่วมมือและการสนับสนุนจาก สมาชิก หน่วยงานราชการ องค์กรภาคเอกชนพันธมิตร และ สื่อมวลชนทุกแขนง ซึ่งหอการค้าฯ ต้องขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้.
.
.
Resource
:หนังสือสถาปนา คณะกรรมการหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ สมัยที่ 16 ประจำปี 2550 - 2551
.
โดย Sun of New City
"

นายจุมพล ชุติมา ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ สมัยที่ 14 ประจำปี พ.ศ. 2546 - 2547





นายจุมพล ชุติมา
Mr. Jumpol Chutima

ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่
สมัยที่ 14 ประจำปี พ.ศ. 2546 - 2547

President, The Chiang Mai Chamber of Commerce 2003 - 2004

.

.

สมัยที่ 14 พ.ศ. 2546 - 2547

.

การบริหารงานสมัยนี้ มีนายจุมพล ชุติมา หุ้นส่วนผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด รักษ์วัฒนธรรมเชียงใหม่ เป็นประธานฯ ได้บริหารงานภายใต้นโยบาย " สร้างความเข้มแข็งให้หอกการค้า พัฒนาขีดความสามารถของสมาชิก และ สานแนวคิดเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาค"

.

การบริหารหอการค้าสมัยนี้ นอกจากจะสานต่อนโยบายเดิมของหอการค้าในสมัยที่ผ่านมาแล้ว จะมุ่งเน้นการดำเนินงานที่เป็นพันธกิจหลัก คือ การสร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กรภายในหอการค้า ให้สามารถมีงบประมาณที่แน่นอนแก่องค์กร เพื่อเป็นที่พึ่งแก่สมาชิก และ สังคมได้อย่างยั่งยืน.

.

นอกจากนั้น จะมุ่งเน้นการร่วมมือสนับสนุนพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ ให้มีความพร้อม มีเอกลักษณ์จุดขายที่ชัดเจน และ รองรับการเป็นศูนย์กลางการบิน (Aviation Hub) ของภูมิภาคนี้อย่างครบวงจร และ กระจายผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นไปทุกจังหวัดของภาคเหนือ รวมถึงการสร้างพันธมิตรและเครือข่าย ตลอดจนให้ความร่วมมือกับองค์กรพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในทุกระดับโดยมีกิจกรรมที่สำคัญ ดังนี้

.

กิจกรรมเพื่อสมาชิก

.

เน้นสร้างความเข้มแข็ง และ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่สมาชิก ให้สอดรับกับระบบเศรษฐกิจ ผลกระทบจากการเปิดเสรีทางกาค้าทั้งระดับประเทศ และ ต่างประเทศ ได้แก่ การริเริ่มโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมในภาวะที่ประเทศกำลังประสบกับปัญหาโรคทางเดินหายใจเฉียบพลัน (SARS) โดยการนำร่องด้วยโครงการ "ชาวดอย ชมเล...เยือนภูเก็ต" และ ได้มีการลงนามเป็นหอการค้ามิตรภาพระหว่างหอการค้าจังหวัดภูเก็ต โดยมีกรอบความร่วมมือ คือ

.

1.) ร่วมกันสนับสนุนความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจการท่องเที่ยวที่เกี่ยวโยงของ 2 จังหวัด

2.) สนับสนุนให้มีช่องทางการค้าระหว่าง 2 จังหวัด

3.) สนับสนุนให้การจัด Package Tour ระหว่าง 2 จังหวัด เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวร่วมกัน

4.) ผลักดันให้มีการเชื่อมโยงทางสายการบินตรงระหว่างจังหวัดภูเก็ต...เชียงใหม่ รวมถึงในเส้นทางอื่น ที่มีศักยภาพ เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวระหว่างจังหวัดภายในประเทศมากขึ้น

.

กิจกรรมเพื่อเศรษฐกิจโดยรวม

.

มีกิจกรรมที่สำคัญได้แก่ การผลักดันให้เชียงใหม่เป็นศูนย์กลางการบิน - ขนส่งทางอากาศในภูมิภาค (Aviation Hub) อย่างต่อเนื่อง, การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ในจังหวัดเชียงใหม่, การดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ เช่น สนับสนุนโครงการเชียงใหม่ซาฟารีไนท์ (Chiang Mai Safari Night) และ ติดตามการก่อสร้างศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ ที่จังหวัดเชียงใหม่, การส่งเสริมให้จังหวัดเชียงใหม่เป็นนครสารสนเทศ หรือ ICT CITY โดยผลักดันการก่อตั้งสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์กรมหาชน) สาขาเชียงใหม่, ได้มีส่วนร่วมในคณะทำงานศึกษารายละเอียดความเหมาะสมร่างประกาศหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับ อาคาร ค้าปลีก - ค้าส่ง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อศึกษาผลกระทบและแก้ไขร่างประกาศฯ โดยได้ผลักดันในนามคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน (กกร.) จังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากส่งผลกระทบต่อการพัฒนาให้เชียงใหม่เป็นเมืองน่าอยู่ และ เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเป็นต้น

.

กิจกรรมด้านต่างประเทศ และ สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ

.

ในสมัยนี้มีกิจกรรมที่สำคัญ ได้แก่

1.) การลงนามความร่วมมือระหว่างหอการค้า และ อุตสาหกรรมจิตตะกอง สาธารรัฐบังคลาเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม และ สนับสนุนให้เกิด การค้า การลงทุน และ ความร่วมมืออื่นๆ ระหว่างภาคเอกชนของทั้งสองฝ่ายต่อไปในอนาคต เมื่อวันที่ 18 กรกฏาคม 2546 ณ หอการค้าและอุตสาหกรรมจิตตะกองสาธารณะรัฐบังคลาเทศ

2.) การสนับสนุน และ ผลักดันโครงการความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน (สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ) ให้เป็นรูปธรรม ซึ่งที่ผ่านมา ได้จัดงานแสดงสินค้า 4 ชาติ ครั้งที่ 2 ขึ้นระหว่างวันที่ 5 -14 ธันวาคม 2546 ณ สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี และ ได้จัดสัมมนาติดตามความคืบหน้าโครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจประจำปี 2546 เมื่อวันที่ 7 - 8 ธันวาคม 2546

.

3.) ร่วมงานแสดงสินค้า การประชุมและดูงานในต่างประเทศ ตลอดจนเป็นผู้จัดการโครงการนำคณะนักธุรกิจทัศนศึกษา และ สานต่อความร่วมมือทางการค้า การลงทุนในต่างประเทศที่สำคัญ เช่น โครงการสำรวจลู่ทางการการค้า การลงทุน และ การท่องเที่ยว ณ เมืองจิตตะกอง สาธารณรัฐบังคลาเทศ, โครงการทัศนศึกษาเยือนนครหลวงโบราณแห่งอาณาจักรล้านช้าง เมืองหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และ โครงการทัศนศึกษาเยือนเวียตนาม สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียตนาม เพื่อกาสานต่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างจังหวัดเชียงใหม่กับประเทศเพื่อนบ้าน เป็นต้น

.

.

Resource

:หนังสือสถาปนา คณะกรรมการหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ สมัยที่ 16 ประจำปี 2550 - 2551

.

โดย Sun of New CIty

นายราชันย์ วีระพันธุ์ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ สมัยที่ 12 - 13 ประจำปี พ.ศ. 2542 - 2545





นายราชันย์ วีระพันธุ์
Mr. Rachan Veeraphan

ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่
สมัยที่ 12 - 13 ประจำปี พ.ศ. 2542 - 2545

President , The Chiang Mai Chamber of Commerce 1999 - 2002
.
.
การบริหารหอการค้าในสมัยนี้ มีนายราชันย์ วีระพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เชียงใหม่อินทนนท์ทราเวิล แอนด์ เทรด เป็นประธานฯ ดำเนินงานภายใต้นโยบาย "ส่งเสริมจริธรรมทางการค้า มุ่งพัฒนาการตลาด สร้างโอกาสทางธุรกิจ เพิ่มพันธมิตรทุกภูมิภาค" ได้ดำเนินงานใน 3 ระดับดังนี้.
.
.
ผลงานและกิจกรรมเพื่อสมาชิก
.
ได้เน้นให้ความช่วยเหลือสมาชิก ให้สามารถฟื้นฟูกิจการภายหลังภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ รวมทั้งพัฒนาศักยภาพให้สามารถทำการตลาด เพื่อให้แข่งขันได้ ทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ ได้แก่
.
1.) จัดประชุมกลุ่มสมาชิกรายสาขา เพื่อรับฟังปัญหาอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจของสมาชิก
2.) จัดอบรม - สัมมนาทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง
3.) ออกหนังสือพิมพ์เชียงใหม่รีวิว เพื่อเพิ่มช่องทางการสื่อสารข้อมูลเศรษฐกิจให้แก่สมาชิก
4.) จัดทำโครงการบัตรทองให้เป็นบัตรประจำตัวแก่สมาชิก เพื่อรับส่วนลดในการซื้อสินค้าและบริการ ซึ่งจะนำไปสู่การกระตุ้นเศรษฐกิจภายในจังหวัด เป็นต้น
.
.
ผลงาน และ กิจกรรมเพื่อเศรษฐกิจโดยส่วนรวม
.
เป็นศูนย์กลางปรับปรุงโครงสร้างหนี้ จัดสัมมนาติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจเป็นระยะๆ ผลักดันนโยบายสาธารณะ ได้แก่
.
1.) ผลักดัน และ ติดตามโครงการก่อสร้างศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติจังหวัดเชียงใหม่ หลังจากที่ผลการศึกษาของบริษัทที่ปรึกษาซึ่งว่าจ้างโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สรุปว่า จังหวัดเชียงใหม่ยังไม่มีศักยภาพในการสร้าง
.
2.) เสนอให้ทบทวนหลักการจัดเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
.
3.) จัดเก็บภาษี และ การเครดิตภาษีคืนท้องถิ่นให้เป็นธรรม
.
4.) ขอผ่อนผันการจ่ายเพิ่มเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ปี 2544
.
5.) เสนอให้มีการจัดทำแผนแม่บท ชี้นำการพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ ระยะยาว 20 ปี เป็นต้น
.
.
กิจกรรมและผลงานด้านต่างประเทศ
.
สานต่อโครงการความร่วมมือกับหอการค้าและอุตสาหกรรมขนาดเล็กเมืองฮัมบูร์ก โดยได้นำเสนอโครงการ และ ได้รับการสนับสนุน การปรับปรุงห้องประชุมสัมมนา และ ห้องจัดกิจกรรมของหอการค้า ขนาด 112 ตารางเมตร และ สนับสนุนการจัดงาน แสดงสินค้า Thai Art ณ หอการค้าฯ ฮัมบูร์ก โดยการรวบรวมสินค้าของสมาชิกไปแสดงและจำหน่าย ซึ่งเป็นการประชาสัมพันธ์ และ เปิดตลาดสินค้าหัตถกรรมสู่กลุ่มประเทศยุโรปเหนือเป็นต้น
.
การผลักดันโครงการสี่เหลี่ยนเศรษฐกิจให้เป็นรูปธรรม เพื่อให้เป็นโอกาสทางเศรษฐกิจของจังหวัดภาคเหนือตอนบน โดยได้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อโครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ หรือ คสศ. หอการค้า 10 จังหวัดภาคเหนือ และ ได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธาน คสศ.สมัยแรก .
.
ต่อมาได้ประสานงานกับหอการค้ายูนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน, สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และ สหภาพพม่า ร่วมจัดตั้งคณะกรรมการร่วมหอการค้าในเขตสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ หรือ JEQC ในปี 2543 ณ นครคุนหมิง ซึ่งขณะนี้ คณะกรรมการทั้ง 2 คณะดังกล่าว ยังคงดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อร่วมพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนในด้านต่างๆร่วมกัน
.
.
การบริหารหอการค้า สมัยที่ 13 พ.ศ. 2544 - 2545
.
เป็นการบริหารงานสมัยที่ 2 ของนายราชันย์ วีระพันธุ์ ซึ่งมีการกำหนดวิสัยทัศน์ว่า "ร่วมสร้างเชียงใหม่ให้น่าอยู่ เร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจให้ยั่งยืน" ยังคงเน้นกิจกรรมที่จะเป็นการช่วยเหลือสมาชิก ด้วยการสะท้อนปัญหาและความต้องการให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพ่อหาแนวทางการแก้ไข และ ให้การสนับสนุน สร้างแนวทางในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ตลอดจนจะให้ความร่วมมือกับองค์กรพันธมิตร และ เครือข่ายองค์กรพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในทุกระดับ เพื่อร่วมสร้างสรรค์พัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ คงความมีเอกลักษณ์ที่เป็นเสน่ห์ของเมือง มีการพัฒนาในทุกด้านที่สอดคล้องกลมกลืนและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ดังนี้
.
ดำเนินงานเพื่อสมาชิก
.
ดำเนินกิจกรรมต่อเนื่องจากสมัยที่ 12 ได้แก่ การจัดประชุมกลุ่มสมาชิกรายสาขา, การประชุมติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจ ตลอดจนจัดการประชุมคณะกรรมการสัญจรต่างอำเภอ รับฟังปัญหาอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจของสมาชิก เพื่อหาแนวทางให้ความช่วยเหลือต่อไป
.
การดำเนินงานเพื่อเศรษฐกิจโดยส่วนรวม
.
ได้มีการผลักดันประเด็นปัญหา และ โครงการที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และ การท่องเที่ยวโดยรวมของจังหวัด ได้แก่
.
1.) แสดงความไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขปัญหาจราจรของกรมทางหลวง ที่สร้างสะพานยกระดับบริเวณแยกสนามบิน แทนการสร้างแบบลดระดับ หรือ Under Pass
.
2.) เสนอให้มีการพิจารณาควบคุมการสร้างตึกสูงในเขตเมืองเชียงใหม่ เพื่อเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และ รักษาทัศนียภาพของเมือง
.
3.) ติตตามผลักดันการก่อสร้างศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ อย่างใกล้ชิด จนกระทั่งมีความคืนหน้าและชัดเจนมาขึ้นในปัจจุบัน
.
4.) เสนอให้บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ทบทวนการปรับขึ้นค่าโดยสาร - ค่าขนส่ง ภายในประเทศเป็นต้น
.
กิจกรรมและผลงานด้านต่างประเทศ
.
สานต่อโครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ ได้จัดงานแสดงสินค้า 4 ชาติ ซึ่งประกอบด้วย ไทย จีน ลาว พม่า เมื่อวันที่ 28 กันยายน - 6 ตุลาคม 2545 ณ สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี ทั้งนี้มีผู้ชมตลอดงาน กว่า 600,000 คน มีร้านค้าทั้งสิ้น 750 คูหา มีการแสดงวัฒนธรรมจาก 4 ชาติ เป็นประจำทุกคืน นับว่าเป็นงานที่ยิ่งใหญ่ระดับนานาชาติครั้งแรกที่จัดขึ้นในภาคเหนือ ที่ได้รับความร่วมมือจากภาครัฐ - เอกชนอย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนได้สร้างชื่อเสียงและความภาคภูมิใจให้คณะกรรมการสมัยนี้เป็นอย่างยิ่ง
.
ดำเนินกิจกรรมภายใต้คณะกรรมการเพื่อโครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ หอการค้า 10 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่
.
1.) การจัดสัมมนาติดตามความก้าวหน้าโครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจประจำปี
.
2.) จัดทัศนศึกษาล่องเรือในแม่น้ำโขงจากอำเภอเชียงแสน ถึง เมืองเชียงรุ่ง แคว้นสิบสองปันนา เพื่อสำรวจเส้นทางเดินเรือพาณิชย์ในแม่น้ำโขง
.
3.) นำสมาชิกไปร่วมงานแสดง และ จำหน่ายสินค้าที่แคว้นสิบสองปันนา
.
4.) จัดประชุมสัญจรเพื่อส่งเสริมการค้าชายแดนในจังหวัดที่มีศักยภาพ ได้แก่ จังหวัดเชียงราย,พะเยา, น่าน และ อุตรดิดถ์ เป็นต้น
.
5.) ผลักดันให้มีการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมทางบกภายในประเทศ เพื่อเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งยังได้นำเสนอและผลักดัน ให้จังหวัดเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ล่าสุดรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนแล้ว
.
ดำเนินงานภายใต้คณะกรรมการร่วมหอการค้า 4 ประเทศในเขตสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ หรือ JEQC โดยในปีบริหาร 2546 -2547 นายราชันย์ วีระพันธุ์ ได้รับความไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่งประธาน JEQC ซึ่งจะได้ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมโครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจให้เป็นรูปธรรมต่อไป
.
.
Resource
: หนังสือสถาปนา คณะกรรมการหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ สมัยที่ 16 ประจำปี 2550 - 2551
.
โดย Sun of New City

วันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2552

นาย ดนัย เลียวสวัสดิพงศ์ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ สมัยที่ 10 - 11 ประจำปี พ.ศ. 2538 - 2541


นาย ดนัย เลียวสวัสดิพงศ์
Mr. Danai Leosawathiphong

ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่
สมัยที่ 10 - 11 ประจำปี พ.ศ. 2538 - 2541

President, The Chiang Mai Chamber of Commerce 1995 - 1998
.
.
การบริหารงานสมัยนี้ มีนายดนัย เลียวสวัสดิพงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามรอยัลออคิด จำกัด เป็นประธานฯ ดำเนินงานภายใต้นโยบาย "พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่รับผิดชอบต่อเศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อม เพื่อรองรับกระแสโลกาภิวัฒน์" ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงแลกเปลี่ยนความร่วมมือ กับ หอการค้าและ อุตสาหกรรมขนาดเล็กเมืองฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมันนี เพื่อรับถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการประหยัดพลังงานและสิ่งแวดล้อม
.
ในปี 2541 - 2541 ประเทศไทยประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ หอการค้าฯ ก็ได้มีบทบาทให้ความช่วยเหลือและแก้ปัญหาการดำเนินธุรกิจของสมาชิก โดยได้ออกแบบสอบถามเพื่อติดตามสถานการณ์ และ ผลกระทบต่างๆอย่างต่อเนื่อง รวมถึงได้จัดเสวนากับสมาชิกสมาคมการค้า และ หน่วยงานภาคราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันหามาตรการแก้ไขปัญหาอย่างสม่ำเสมอ
.
นอกจากนี้ยังได้นำเสนอและผลักดัน ขอให้มีการสร้างศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติที่จังหวัดเชียงใหม่ จนโครงการดังกล่าวนี้ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ในการประชุม ครม.สัญจร ที่จังหวัดเชียงรายในเวลาต่อมา
.
และ เสนอให้รัฐบาล คืน ภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าของที่ระลึกแก่นักท่องเที่ยว เป็นต้น
.
.
Resource
: หนังสือสถาปนา คณะกรรมการหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ สมัยที่ 16 ประจำปี 2550 - 2551
.
โดย Sun of New City

ดร. แจ่มจิตต์ เลาหวัฒน์ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ สมัยที่ 8 - 9 ประจำปี พ.ศ. 2535 - 2537





ดร. แจ่มจิตต์ เลาหวัฒน์

Mrs. Chamchit Laohavad


ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่

สมัยที่ 8 - 9 ประจำปี พ.ศ. 2535 - 2537


President, The Chiang Mai Chamber of Commerce 1992 - 1994
.
.
โดยการนำของ ดร.แจ่มจิตต์ เลาหวัฒน์ หุ้นส่วนผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลอนุสารเชียงใหม่เป็นประธานฯ ได้บริหารงานภายใต้นโยบาย "ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ควบคู่กับการพัฒนาอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม" ได้นำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมบริเวณวัดพระธาตุดอยสุเทพ และ ดำเนินการ โครงการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมของชาวไทยภูเขาเพื่อการท่องเที่ยว
.
นอกจากนี้ ยังได้จัดตั้งสถาบันฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ ให้เป็นสถาบันพัฒนาศักยภาพของบุคลากรภาคเศรษฐกิจ เพื่อรองรับกับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในยุคโลกาภิวัฒน์
.
นอกจากนี้ยังได้ผลักดันงบประมาณสำหรับการก่อสร้างถนนวงแหวนรอบกลาง และ ถนนวงแหวนรอบนอก ซึ่งต่อมารัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณผูกพันในการก่อสร้างถนนดังกล่าว และ ขอให้มีการจัดตั้งสำนักงานภูมิภาคกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อให้บริการประชาชนในส่วนภูมิภาคในการจัดทำหนังสือเดินทาง ทั้งนี้กระทรวงการต่างประเทศได้ขยายบริการดังกล่าวมายังจังหวัดเชียงใหม่ในเวลาต่อมา
.
.
Resource
: หนังสือสถาปนา คณะกรรมการหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ สมัยที่ 16 ประจำปี 2550 - 2551
.
โดย Sun of New City

นายวิบูลย์ โตวิวัฒน์ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ สมัยที่ 7 ประจำปี พ.ศ. 2533 - 2534

นายวิบูลย์ โตวิวัฒน์
Mr. Viboon Toewiwat

ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่
สมัยที่ 7 ประจำปี พ.ศ. 2533 - 2534

President, The Chiang Mai Chamber of Commerce 1990 - 1991
.
.
การบริหารงานสม้ยนี้ มีนายวิบูลย์ โตวิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท โรงสีข้าวเชียงใหม่ไชยวิวัฒน์ จำกัด เป็นประธานฯ ได้ดำเนินนโยบาย "รองรับและส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ"
.
เน้นการเป็นศูนย์รวมและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทางการค้าให้แก่สมาชิกและนักลงทุนโดยทั่วไป รวมถึงได้จัดงาน "เชียงใหม่แฟร์" ณ ประเทศญี่ปุ่น เพื่อขยายตลาดสินค้าหัตถกรรม และ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่
.
นอกจากนี้ ยังได้สนับสนุนงบประมาณให้แก่เทศบาลนครเชียงใหม่ จัดทำสไลด์มัลติวิชั่น เพื่อจัดฉายเผยแพร่ประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่ให้แก่นักท่องเที่ยวอีกด้วย
.
และ ในปี 2533 เป็นปีที่ลำไยมีปริมาณมากที่สุดปีหนึ่ง หอการค้าฯได้ดำเนินการหลายประการ เพื่อส่งเสริมผลผลิตของจังหวัดเชียงใหม่ ให้มีการบริโภคและส่งออกมากยิ่งขึ้น ได้แก่
.
1.) ขอความร่วมือผ่อนผันรถบรรทุกขนส่งลำไยเข้าในเขตกรุงเทพมหานคร
2.) ขอความร่วมมือศูลกากรภาคใต้เพื่อให้ระบายลำไยไปสู่ผู้บริโภคในต่างประเทศได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
3.) ขอความร่วมมือ บริษัทการบินไทย ประชาสัมพันธ์ผลผลิตลำไยให้เป็นที่รู้จักแก่ชาวต่างประเทศ
4.) ขอความร่วมมือโรงแรมในจังหวัดเชียงใหม่ จัดเทศกาลอาหารที่ทำจากลำไย
5.) จัดเทศกาล "ลำไยแฟร์" ส่งเสริมให้มีการบริโภคลำไย ทั้งชาวไทย และ ชาวต่างประเทศ
6.) เดินทางไปส่งเสริมการขายในงาน "Thailand Food Festival" ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เป็นการเปิดตลาดสินค้า.
ลำไยในซุปเปอร์มาร์เก็ตกว่า 50 สาขาในฮ่องกงเป็นต้น
.
.
Resource
:หนังสือสถาปนา คณะกรรมการหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ สมัยที่ 16 ประจำปี 2550 - 2551
.
โดย Sun of New City

ดร. นิตย์ วังวิวัฒน์ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ สมัยที่ 6 ประจำปี พ.ศ. 2531 - 2532




ดร. นิตย์ วังวิวัฒน์

Mr. Nit Wangviwat


ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่

สมัยที่ 6 ประจำปี พ.ศ. 2531 - 2532


President, The Chiangmai Mai Chamber of Commerce 1988 - 1989
.
.
การบริหารงานสมัยนี้ ซึ่งมี ดร.นิตย์ วังวิวัฒน์ ประธานกรรมการบริษัท ชาระมิงค์ จำกัด เป็นประธานฯ ได้ดำเนินงานตามแผน "ส่งเสริมการท่องเที่ยวและหัตถอุตสาหกรรม" เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในยุคนั้น พร้อททั้งได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อดึงดูดให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในจังหวัดเชียงใหม่มากยิ่งขึ้น
.
โดยจัดอบรมให้ความรู้ภาษาต่างประเทศขั้นพื้นฐานแก่พนักงานและผู้ประกอบการที่ให้บริการด้านการท่องเที่ยว เชิญชวนสมาชิกร่วมโครงการพัฒนาธุรกิจภูมิภาค ซึ่งเป็นโครงการช่วยเหลือในรูปกองทุนของ Canadian International Development Agency หรือ CIDA โดยการจัดตั้ง บริษัท เชียงใหม่ร่วมทุนไทย - คานาเดียน จำกัด เพื่อเป็นการสนับสนุนด้านการเงิน ให้แก่ธุรกิจขนาดกลางและเล็ก ในลักษณะร่วมลงทุน หรือ Joint Venture ซึงปัจจุบันบริษัทยังคงดำเนินการอยู่ สมาชิกสามารถยื่นโครงการขอรับการสนับสนุนได้
.
.
แหล่งข้อมูล
: หนังสือสถาปนา คณะกรรมการหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ สมัยที่ 16 ประจำปี 2550 - 2551
.
โดย Sun of New City

ดร.ประวิทย์ อัครชิโนเรศ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ สมัยที่ 4 - 5 ประจำปี พ.ศ. 2527 - 2530





ดร.ประวิทย์ อัครชิโนเรศ

Mr. Pravit Arkarachinores


ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่

สมัยที่ 4 - 5 ประจำปี พ.ศ. 2527 - 2530
.
.
การบริหารงานสมัยนี้ ซึ่งมี ดร.ประวิทย์ อัครชิโนเรศ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ธุรกิจการแพทย์ จำกัด เป็นประธานฯ ได้ดำเนินงานภายใต้แผน "พัฒนาด้านการส่งออกต่างประเทศ" ซึ่งเป็นการดำเนินงานที่สอดรับกับแผนพัฒนาด้านการค้า ที่ได้เปิดช่องทางการตลาดต่างประเทศไว้เรียบร้อยแล้ว ทำให้นักธุรกิจชาวต่างประเทศมีความสนใจ และ ได้เดินทางเข้ามาติดต่อยังจังหวัดเชียงใหม่
.
ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมการส่งออกหอการค้าฯ จึงเน้นนำเสนอการแก้ไขปัญหาด้านการส่งออกแก่ภาครัฐบาล เพื่อสร้างสภาพคล่องแก่ผู้ประกอบการ ภายใต้บทบาทของคณะกรรมการเพื่อแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ หรือ กรอ. จังหวัด และ ได้จัดประชุมพบปะนักธุรกิจ ผู้แทนทางการค้าจากต่างประเทศหลายคณะ เพื่อส่งเสริมการตลาดส่งออกต่างประเทศ
.
.
ที่มาของข้อมูล
:หนังสือสถาปนา คณะกรรมการหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ 2550 - 2551


President, The Chiang Mai Chamber of Commerce 1984 - 1987

นายแพทย์สุมิน พฤกษิกานนท์ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ สมัยที่ 2 - 3 ประจำปี 2523 - 2526




นายแพทย์สุมิน พฤกษิกานนท์

Dr.Sumin Prugsiganont


ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่

สมัยที่ 2 - 3 ประจำปี 2523 - 2526
.
.
การบริหารหอการค้าสองสมัยนี้ มีนายแพทย์สุมิน พฤกษิกานนท์ ประธานกรรมการบริหาร โรงพยาบาลรวมแพทย์ เป็นประธานฯ ได้ดำเนินงานหอการค้าภายใต้ "แผนพัฒนาด้านการค้า" ได้จัดแสดงสินค้า "เชียงใหม่แฟร์ 82" ณ พุทธสถานเชียงใหม่ เมื่อปี 2525 ซึ่งประสบความสำเร็จมาก นับว่าเป็นงานแสดงสินค้าที่ได้มาตรฐานสากลครั้งแรกในภูมิภาคขณะนั้น รวมถึงยังได้จัดกิจกรรมการจัดอบรมสัมมนา เพื่อให้สมาชิกนักธุรกิจได้มีการพัฒนาทางด้านธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนับได้ว่าหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ เป็นผู้บุกเบิกการจัดสัมมนาทางเศรษฐกิจจากยุคดังกล่าวมาจนถึงปัจจุบัน
.
แหล่งข้อมูล
:หนังสือสถาปนา คณะกรรมการหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ สมัยที่ 16 ประจำปี 2550 - 2551
.
โดย Sun of New City
.


Predident, The Chiang Mai Chamber of Commerce 1980 - 1983

ดร. ณรงค์ ศักดาทร ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ สมัยที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2520 - 2522




ดร. ณรงค์ ศักดาทร

Mr. Narong Sakdathorn


ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่

สมัยที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2520 - 2522

President, The Chiang Mai Chamber of Commerce 1984 - 1991
.
.
หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ ได้ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2520 ภายใต้พระราชบัญญัติหอการค้า พ.ศ.2509 ที่จะส่งเสริมให้พ่อค้า นักธุรกิจ และ นักอุตสาหกรรม รวมตัวกันเป็นสถาบันการค้า เพื่อส่งเสริมให้เป็นนักธุรกิจ นักอุตสาหกรรม ที่มีมาตรฐาน ทั้งทางด้านวิชาการ คุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งเพื่อให้เป็นที่เป็นตัวแทนปกป้องรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวมภายในจังหวัด ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนการค้าในระดับจังหวัด ระดับประเทศ และ ระหว่างประเทศ โดยเมื่อปี พ.ศ. 2519 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในขณะนั้น ฯพณฯ อบ วสุรัตน์ ได้ขึ้นมาแนะนำ และ ชักชวนให้นักธุรกิจในจังหวัดเชียงใหม่ ก่อตั้งหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ขึ้น โดยได้ยื่นขอจดทะเบียนก่อตั้ง และ ได้รับอนุญาตจจากนายทะเบียนหอการค้าประจำจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2520 ให้เป็นหอการค้าจังหวัดตามกฏหมาย
.
หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ มีบทบาทและหน้าที่ในการเป็นศูนย์รวมข้อมูลทางด้านการค้า การลงทุน ทั้งภายในและต่างประเทศ ให้ความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ อำนวยความสะดวกสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของสมาชิก และ บทบาทในการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมโดยส่วนรวม รวมทั้งมีบทบาทในการเป็นองค์กรทางการค้า ให้การต้อนรับพบปะนักลงทุนและผู้แทนการค้า ทั้งในและต่างประเทศเพื่อส่งเสริมให้เกิดการค้าและการลงทุนระหว่างกัน
.
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ ได้ทำหน้าที่ และ ดำรงบทบาทส่งเสริมการดำเนินธุรกิจของสมาชิก เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของจังหวัด ตลอดจนสนับสนุนกิจกรรมอันก่อประโยชน์แก่ภาคเศรษฐกิจของท้องถิ่นมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านการมีบทบาทในนโยบายสาธารณะ และ ด้านการจัดกิจกรรม หรือ โครงการสนับสนุน โดยมีคณะกรรมการบริหาร สานต่อเจตนารมณ์มาอย่างต่อเนื่องจวบจนปัจจุบันรวม 16 สมัย นับเป็นเวลา 30 ปี ซึ่งทำให้หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ มีพัฒนาการและความเจริญก้าวหน้าขึ้นมาโดยลำดับ ดังนี้
.
.
การบริหารงานสมัยที่ 1 พ.ศ. 2520 -2522
.
ซึ่งมี ดร. ณรงค์ ศักดาทร ประธานบริษัท นิยมพานิช จำกัด เป็นประธาน ได้บริหารงานหอการค้าภายใต้แผนดำเนินงานที่ชื่อว่า "แผนพัฒนาด้านบุคลากร" เพื่อเป็นการวางมาตรฐานให้นักธุรกิจและสมาชิกหอการค้า ได้มีพัฒนาการทางด้านวิชาการ โดยการจัดอบรมสัมมนาต่างๆแก่สมาชิก และ นักธุรกิจโดยทั่วไป
นอกจากนี้ ยังได้เสนอแนวทางการพัฒนาด้านท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ เสนอขอให้มี ตำรวจ-ท่องเที่ยวประจำจังหวัดเชียงใหม่ และ เสนอขอให้ปรับปรุงสนามบินจังหวัดเชียงใหม่ให้เป็นสนามบินนานาชาติ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว และ เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการคมนาคมขนส่งเพื่อการส่งออก เป็นต้น
.
.
แหล่งข้อมูล
: หนังสือสถาปนา คณะกรรมการหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ สมัยที่ 16 ประจำปี 2550 - 2551
.
โดย Sun of New City
.